วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เจ็ดปีหลังเหตุร้ายพ้นผ่าน...เสียงอาซานจากมัสยิดกรือเซะยังคงอยู่

วันที่ 28 เมษายนของทุกปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมา ได้แปรเปลี่ยนวันธรรมดาๆ ไปสู่วันแห่งประวัติศาสตร์บาดแผลจากปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ และแม้ปัจจุบันคนไทยเกือบทั้งประเทศจะหลงลืมกันไปเกือบหมดแล้ว แต่พี่น้องมุสลิมที่ปลายสุดด้ามขวานไม่เคยลืม

เช้ามืดของวันที่ 28 เมษายนเมื่อ 7 ปีที่แล้ว กลุ่มเยาวชนและชายฉกรรจ์มุสลิมนับร้อยคน...มีเพียงมีดกับกริชเป็นอาวุธ... แยกกันเข้าโจมตีป้อมจุดตรวจของทหาร ตำรวจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า 10 แห่ง แทบทุกแห่งจบลงด้วยความสูญเสียของฝ่ายผู้โจมตี บางรายจบชีวิต บางรายได้รับบาดเจ็บสาหัส หลายรายถูกจับกุม


จุดสุดท้ายและสำคัญที่สุดอยู่ที่มัสยิดกรือเซะ ตำบลตันหยงลูโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มัสยิดเก่าแก่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ความรุ่งเรืองของศาสนาอิสลามในปัตตานีและคาบ สมุทรมลายู ไม่มีใครรู้ชัดว่า 30 กว่าชีวิตที่อยู่ในมัสยิดวันนั้นเป็นผู้ร้ายที่โจมตีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด หรือมีประชาชนผู้บริสุทธิ์ติดอยู่ด้วย กระทั่งบ่ายแก่ๆ วันเดียวกัน มีคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงให้ใช้อาวุธหนักยิงเข้าใส่ ผู้คนกว่า 30 ชีวิตต้องตาย ขณะที่มัสยิดก็ได้รับความเสียหายจนต้องปิดซ่อมแซม


มัสยิดซึ่งได้ชื่อว่าคือ "บ้านของพระเจ้า" ในความรู้สึกของพี่น้องมุสลิม...


หลายเดือนต่อมา มัสยิดกรือเซะจึงเริ่มตื่นจากหลับใหลหลังได้รับการซ่อมแซม และเริ่มกลับมาทำหน้าที่ "บ้านของพระเจ้า" ให้พี่น้องมุสลิมผู้ศรัทธาดังเดิม


เสียงอาซานดังเอื่อยบอกให้มุสลิมรับรู้ว่าได้เวลาละหมาดแล้ว ผู้คนในละแวกมัสยิดและคนเดินทางทะยอยกันเข้าไปประกอบศาสนกิจ...


"บ้านผมอยู่ข้างใน (หมายถึงในหมู่บ้านกรือเซะ) มาละหมาดที่นี่ทุกวัน ทุกเวลา ไม่ได้กลัวอะไร เพราะคิดว่าอะไรจะเกิดก็ต้องให้มันเกิด อยู่ที่ว่าใครจะทำความดีกันมากกว่า" ลุกมัน อีแต บอกถึงความรู้สึกของเขาที่ยังคงเดินทางมาละหมาดที่มัสยิดกรือเซะไม่เคยขาด แม้สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้เคยอยู่ในสมรภูมิความรุนแรง


"ผมมาขายของที่ตลาดเปิดท้าย ก็จะแวะมาละหมาดที่มัสยิดกรือเซะ จริงๆ บ้านผมอยู่บางปู (อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี)" เป็นเสียงของ ซอเฮง สามาแล ชาวบ้านตำบลบางปูซึ่งอยู่ห่างออกไปจากตัวเมืองปัตตานีหลายกิโลเมตร "ที่นี่บรรยากาศยังเหมือนเดิม ผมไม่ได้กลัวอะไรเพราะเรามาทำความดี และที่นี่คือบ้านของพระเจ้า" เขาย้ำ


ชาวบ้านแถบนี้หลายคนบอกตรงกันว่า ช่วงแรกหลังเกิดเหตุใหม่ๆ มัสยิดเงียบเหงาไปบ้าง แต่ก็เพียงชั่วคราว เพราะทุกคนยังคงไปปฏิบัติศาสนกิจและทำความดีกันที่มัสยิดเป็นประจำ


สามาแอ ตินอ ผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนใกล้ๆ มัสยิดซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่มานาน เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นว่า หลังเกิดเหตุใหม่ๆ ก็เหงากันนิดหน่อย จากนั้นก็ปฏิบัติเหมือนเดิม แต่จำนวนนักท่องเที่ยวน้อยลง ร้านค้าขายของที่ระลึกเริ่มปิดตัวเพราะไม่ค่อยมีใครมาเที่ยว ก็ต้องทำใจและอดทนกัน แต่เรื่องการละหมาดที่มัสยิดเรายังคงทำกันสม่ำเสมอ และจะยังคงทำอย่างนี้กันไปอีกนานเท่านาน


ไม่ว่าจะครบรอบกี่ปีของเหตุการณ์ร้าย มัสยิดกรือเซะยังคงทำหน้าที่ของตนเองอย่างสง่างามไม่เปลี่ยนแปลง เหลือเพียงคำถามที่ค้างคาใจผู้คนว่า แล้วฝ่ายรัฐได้ทำหน้าที่อะไรเพื่อคืนความสงบสุขให้กับดินแดนแห่งนี้บ้าง...


ช่วยตอบที!

menambah kesedaran untok umat yang satu tujuan

Jihad di Fathoni semarak menyala


Wajib kita bangkit bangun membela


Berkorban harta jiwa dan raga


Gigih berjuang semangat merdeka


Andai kita tak sanggup berjuang


Umat Fathoni dirantai kehinaan


Umat Fathoni dibelanggu penjajahan


Umat Fathoni dilaknat tuhan


Umat Fathoni jangan lekas putus asa


Sebab Allah bersama kita


Mendaulat hukum Allah di bumi pusaka


Itulah harapan dan cita-cita


Insya Allah bumi Fathoni merdeka


Insya Allah bumi Fathoni Allah redha janganlah simpan untok seorang diri