วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

จะเอาไงกับปัญหาภาคใต้?

มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกที่หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 31 พฤษภาคม 2554
และมติชนออนไลน์ ที่ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1306846798&grpid&catid=02&subcatid=0207

วันนี้ต้องถามกันตรงๆ แบบนี้แหละครับว่า ปัญหาที่หนักหนาสาหัสที่สุด ซึ่งได้สร้างความสูญเสียมากกว่าสี่พันชีวิต บาดเจ็บอีกเรือนหมื่นไม่นับรวมทรัพย์สินอีกมากมายที่ถูกทำลายลง เป็นปัญหาที่กัดกร่อนสภาพจิตใจของคนไทยทั้งประเทศมาเป็นเวลาอย่างน้อยเกือบ 7 ปี และดูดเอางบประมาณของรัฐไปมากกว่าหนึ่งแสนล้านบาท

แต่เรายังไม่ได้ยินนักการเมืองโดยเฉพาะพรรคใหญ่ทั้งสองพรรคที่กำลัง ต่อสู้กันในเวทีเลือกตั้งที่จะถึง และเป็นการเลือกตั้งที่ว่ากันว่าเป็นครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย พูดถึงเรื่องนี้อย่างจริงๆ จังๆ ว่าจะ "เอาไง" กับปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งก่อนหน้านี้มีรัฐมนตรีรับผิดชอบโดยตรงต่อการแก้ ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้และเป็นผู้ผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2554 หรือเรียกสั้นๆ ว่า พ.ร.บ.ศอ.บต. ที่เพิ่งจะมีผลบังคับใช้ก่อนที่รัฐบาลจะยุบสภาไปเพียงไม่กี่เดือน

ประชาธิปัตย์หมายมั่นปั้นมือว่า ศอ.บต.ภายใต้ พ.ร.บ.นี้ จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาภาคใต้โดยได้เพิ่มอำนาจให้แก่เลขาธิการ ศอ.บต. และมีคณะกรรมการที่ปรึกษาที่มาจากหลากหลายภาคส่วนร่วมกันทำงาน

แต่จากเหตุการณ์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นและไม่มีท่าทีว่าจะมีสัญญาณไปใน ทิศทางที่จะสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่ ทำให้เกิดคำถามมากมายเกี่ยวแนวทางในการแก้ไขปัญหาแบบ conventional ของพรรคประชาธิปัตย์

นั่นคือการเพิ่มหน่วยงานราชการเข้าไป ราชการเป็นตัวหลักแล้วดึงมุสลิมที่อยู่บนส่วนยอดของสังคมที่อ้างว่าเป็นตัว แทนของมุสลิมในพื้นที่เข้าร่วม ขณะที่โครงสร้างทางอำนาจยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

ประชาธิปัตย์ควรชี้แจงแถลงไขมาให้พวกเราซึ่งจะเข้าคูหากาบัตรในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ ฟังหน่อยว่า เมื่อเป็นแบบนี้ ถ้ากลับมาเป็นรัฐบาลจะเอาไงต่อ?

สำหรับพรรคเพื่อไทยนั้นนับตั้งแต่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่เคยเสนอเรื่องนครรัฐปัตตานี และยังไม่ชัดเจนว่ารูปแบบจะเป็นอย่างไร และขณะนี้ตัว พล.อ.ชวลิตได้ลาออกจากพรรคเพื่อไทยไปแล้ว ยิ่งทำให้แนวทางการแก้ปัญหาภาคใต้ของพรรคเพื่อไทยมืดสนิท พรรคเพื่อไทยซึ่งถือกำเนิดมาจากพรรคพลังประชาชนโดยมีปู่คือพรรคไทยรักไทย และถูกสังคมตราหน้า (อย่างน้อยจากพรรคคู่แข่ง) มาตลอดว่าเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาความรุนแรง "ระลอกใหม่" ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากนโยบายยุบหน่วยงานทางทหาร และนโยบายปราบยาเสพติด

พรรคเพื่อไทยซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานจะทำอย่างไรกับมรดกตกทอดของเจ้าคุณปู่ที่ทิ้งเอาไว้และจะกู้ชื่อเสียงคุณปู่กลับคืนมาอย่างไร?

คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ช่วยพาน้องๆ ทหาร ตำรวจ โดยเฉพาะระดับล่างๆ ที่กรำแดดกรำฝน ลาดตระเวนตามท้องถนนตั้งแต่ อ.จะนะ ไปยันนราธิวาส "กลับบ้าน" ได้มีโอกาสไปพบลูกเมียด้วยเถิด! ถ้ายังไม่มีไอเดีย ผมแนะนำให้ไปดูข้อเสนอจากภาคประชาชนในพื้นที่ เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้รัฐ ธรรมนูญไทย (ดูได้ที่ www.deepsouthwatch.org)

พรรคมาตุภูมิที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าพรรคดูเหมือนจะเป็นพรรคที่เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ เอาไว้บ้าง โดยพรรคมาตุภูมิได้ไปปรับเอาข้อเสนอในงานวิจัยของ รศ.ดร.สมภพ จิตภิรมณ์ศรี (คณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี) และ ดร.สุกรี หลังปูเต๊ะ (คณะศิลปศาสตร์ ม.อิสลามยะลา) คือเสนอให้มีทบวงบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มารับผิดชอบเป็นการเฉพาะ (จริงๆ แล้วข้อเสนอของอาจารย์ศรีสมภพ และอาจารย์สุกรีมีรายละเอียดและครอบคลุมมากกว่านั้น โปรดดู www.deepsouthwatch.org/sites/default/files/SriSukri_Extinguish.pdf) แต่รายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา เช่น จะยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในระดับกัมปง (ชุมชน) ให้เป็นรูปธรรมอย่างไร จะทำอย่างไรกับที่นารกร้างว่างเปล่าที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ลองกองกิโลละ 5 บาท จะประกันราคาให้เหมือนลำใยหรือพืชเศรษฐกิจตัวอื่นได้มั้ย?

คนหนุ่มสาววัยทำงานที่เป็นพลังอันสำคัญทางเศรษฐกิจได้หนีความยากจนและสถานการณ์ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านกันหมดจะทำอย่างไร

ความยุติธรรมซึ่งเป็นปัญหาหลักและว่ากันว่าเป็นบ่อเกิดแห่งปัญหาทั้งหลายทั้งปวงจะมีกระบวนการยกเครื่องอย่างไร?

ปัญหาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ที่เด็ก ม.3 ยังอ่านหนังสือไม่ออกจะแก้กันอย่างไร?

และหัวใจสำคัญที่สุดจะ approach (ขออภัยท่านผู้อ่านที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ) ผู้ก่อความไม่สงบซึ่งเป็นตัวแสดงสำคัญในปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไร?

จะไล่ล่ากันอย่างนี้ต่อไป จะพูดคุยกัน (dialogue) หรือจะมีแนวทางหรือพื้นที่ (space) ให้พวกเขาได้แสดงความต้องการออกมาอย่างไร? เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่คนในพื้นที่มีความหวังที่จะได้รับคำตอบ

ในตอนที่ท่าน พล.อ.สนธิเป็นผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ซึ่งมีอำนาจมากมายมหาศาล แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ผู้คนต่างสงสัยว่าแล้วหน่วยงานระดับทบวงจะแก้ปัญหาได้หรือ? ท่าน พล.อ.สนธิ คุณนัจมุดดีน หรือคุณอารีเพ็ญ ช่วยคลายข้อสงสัยให้หน่อย ประชาชนจะได้มีข้อมูลในการตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกพรรคของท่านให้มาแก้ไข ปัญหาภาคใต้

การที่พรรคการเมืองประกาศนโยบายหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาสำคัญๆ อย่างปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้วประชาชนเห็นด้วยและเลือกเข้ามาทำหน้าที่ โดยมีทหาร ตำรวจ ตลอดจนระบบราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเป็นเครื่องมือหรือกลไกเพื่อทำงานให้ บรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ตั้งไว้ตอนหาเสียงเลือกตั้งนั่นแหละ คือการเมืองนำการทหาร ดังเช่นที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้ประกาศตอนรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งว่า เขาจะถอนทหารออกจากอิรักถ้าได้เป็นประธานาธิบดี และเขาก็ทำเช่นนั้นจริงๆ ทั้งๆ ที่เรื่องการถอนทหารเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความพ่ายแพ้ (อย่างน้อยในสายตาของฝ่ายต่อต้าน) ซึ่งฝ่ายmหารไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมทหาร) แล้วปัญหาการรบที่ยืดเยื้อ ทหารลูกหลานอเมริกันตายเป็นผักเป็นปลา ก็หมดไป

ในเมื่อเป็นที่ยอมรับกันจากทุกฝ่ายว่าการแก้ไขปัญหาภาคใต้ต้องใช้การ เมืองนำการทหาร ดังนั้น นักการเมืองต้องออกมาพูด สร้างเจตจำนงทางการเมือง (Political will) และรวบรวมเสียงสนับสนุน (gathering supports) ขณะนี้ได้เวลาอันสมควรที่นักการเมืองจะต้องออกมานำแล้วครับ!

menambah kesedaran untok umat yang satu tujuan

Jihad di Fathoni semarak menyala


Wajib kita bangkit bangun membela


Berkorban harta jiwa dan raga


Gigih berjuang semangat merdeka


Andai kita tak sanggup berjuang


Umat Fathoni dirantai kehinaan


Umat Fathoni dibelanggu penjajahan


Umat Fathoni dilaknat tuhan


Umat Fathoni jangan lekas putus asa


Sebab Allah bersama kita


Mendaulat hukum Allah di bumi pusaka


Itulah harapan dan cita-cita


Insya Allah bumi Fathoni merdeka


Insya Allah bumi Fathoni Allah redha janganlah simpan untok seorang diri