วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อีกมุมหนึ่งต่อรากเหง้าความขัดแย้งและทิศทางการแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่ชายแดนใต้

เมธัส อนุวัตรอุดม
สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
หมายเหตุ: รายงานนี้เป็นรายงานที่ปรับปรุงเพิ่มเติมจากรายงานที่เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอต่อคณะอนุกรรมาธิการจัดทำรายงานในคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตาม เร่งรัด ประเมินผลการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ วุฒิสภา เมื่อเดือนมกราคม 2554
1. ปรากฏการณ์ของปัญหา
4 มกราคม 2547 วันที่เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีประวัติศาสตร์การต่อสู้ที่ยาวนานได้ปะทุขึ้นเหนือผิวน้ำ ปลุกให้ผู้คนในสังคมไทยรวมทั้งประชาคมระหว่างประเทศ ได้หันมารับรู้และมองเห็นความขัดแย้งที่ถูกกดทับมานานนับศตวรรษ
ใน วันนั้น คงมีน้อยคนที่คาดคิดว่าความรุนแรงดังกล่าวจะยืดเยื้อมาจนเข้าสู่ปีที่ 8 และถึงวันนี้ หลายฝ่ายก็ไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าประเทศไทยจะสูญเสียเลือดเนื้อของพี่น้อง ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่รัฐต่อไปอีกนานเท่าใด ภายใต้พลวัตการขึ้นลงของสถานการณ์ตามจังหวะเวลาและการดำเนินการของผู้มี บทบาทสำคัญในภาคส่วนต่างๆ
เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงดำเนินอยู่ต่อไปแม้จะมีการใช้งบประมาณแผ่นดินในการแก้ไขปัญหาไปแล้วกว่า 145,000 ล้านบาท[1] มีการใช้วัตถุสังหารที่รุนแรงด้วยวิธีการที่สลับซับซ้อนมากขึ้น เหตุระเบิดและการสังหารรายวันยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องท่ามกลางความหวาด กลัวของประชาชนที่ตระหนักดีว่าความสูญเสียอาจมาเยือนตนเองและคนใกล้ชิดได้ ตลอดเวลา พร้อมๆกับข่าวที่สร้างความสับสนว่ากลุ่มผู้ใช้ความรุนแรงมีผสมปนเปทั้งกลุ่ม เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐ กลุ่มปฏิกิริยาแก้แค้นตอบโต้ กลุ่มธุรกิจอิทธิพลนอกกฎหมาย กลุ่มการเมืองท้องถิ่น และกลุ่มขัดแย้งส่วนตัว ทั้งหมดนี้ได้ก่อให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ 10,386 ครั้ง สร้างความสูญเสียต่อ 4,453 ชีวิต บาดเจ็บ 7,239 ราย[2] และก่อผลกระทบทางจิตใจต่อผู้คนจำนวนมากอย่างที่ไม่อาจหาตัวเลขใดมาชี้วัดได้ ก่อเกิดบรรยากาศแห่งความหวาดระแวงและไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันที่ปกคลุมไปทั่วทั้งประเทศ
2. รากเหง้าของความขัดแย้ง
บนความเคยชินที่ผู้คนได้รับรู้ถึงเหตุร้ายรายวันตลอด 7 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องและสังคมไทยจะต้องตระหนักคือ ความรุนแรงดังกล่าวเป็นเพียงอาการของการเจ็บป่วยเรื้อรัง แน่นอนว่าการดำเนินการเพื่อยุติเหตุรายวันโดยยุทธการทางทหารเป็นสิ่งจำเป็น แต่กระนั้นก็เป็นเพียงการจำกัดพื้นที่การต่อสู้ทางกายภาพของผู้ก่อความไม่ สงบและเป็นการระงับอาการของโรคไม่ให้เลวร้ายลงชั่วคราวเท่านั้น
สิ่งสำคัญที่จะสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืนคือ การมองให้เห็นถึงรากเหง้าของปัญหา (Root Causes of Conflict) ทำความเข้าใจเงื่อนไขที่หล่อเลี้ยงความรุนแรง และมีความจริงจังจริงใจที่จะหาหนทางขจัดความคับข้องใจ (Grievances) ต่างๆที่ ประชาชนในพื้นที่ส่วนหนึ่งรู้สึกว่าตนเองกำลังประสบอยู่ เพื่อปลดล็อคเงื่อนไขของความรุนแรงที่มีอยู่ให้ได้ โดยมีสมมติฐานว่าหากปัญหารากเหง้าได้รับการแก้ไขแล้ว ตัวละครอื่นๆ ที่มาผสมโรงทั้งกลุ่มอิทธิพลหรือกลุ่มบุคคลที่คอยแสวงประโยชน์จากสถานการณ์ จะถูกจำกัดพื้นที่และหลบหายไปในที่สุด
คำ ถามตั้งต้นที่สำคัญคือ เพราะเหตุใดอุดมการณ์ต่อสู้เพื่อเอกราชจึงยังคงมีพลังอยู่เสมอมาในการปลุก เร้าคนไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูจำนวนหนึ่งให้ลุกขึ้นสู้กับรัฐไทย?
ผู้เขียนเชื่อว่าราก เหง้าของความขัดแย้งในชั้นที่ลึกที่สุดคือ ความกังวลที่ถูกสั่งสมมาแต่อดีตสู่ปัจจุบันของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าอัตลักษณ์มลายูมุสลิมของตนจะถูกทำให้จางหายไปด้วยวิธีคิดและการกระทำ ของผู้มีอำนาจรัฐบางส่วน และด้วยโครงสร้างทางการเมืองและสังคมวัฒนธรรมที่ไม่ได้สะท้อนถึงความแตกต่าง หลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีอยู่จริงในสังคมไทย ในขณะเดียวกันกับที่รัฐและ สังคมใหญ่บางส่วนมองความแตกต่างทางชาติพันธุ์โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชาย แดนภาคใต้ด้วยสายตาที่หวาดระแวงและเกรงว่าคนในพื้นที่ดังกล่าวจะไม่มี “ความเป็นไทย” ตามจินตภาพของตน
เมื่อความรู้สึกถูกกดทับทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ยังคงดำรงอยู่ และเมื่อความต้องการ (Needs) ของคนในพื้นที่ที่เสนอผ่านข้อเรียกร้องด้วยสันติวิธีโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน กรณีของฮัจญีสุหลง อันเป็นเรื่องของการรักษาอัตลักษณ์มลายูมุสลิมและการยืนยันสิทธิพื้นฐานใน การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักประชาธิปไตยเพื่อดูแลกิจการท้องถิ่นภายใต้ กรอบกฎหมายไทยนั้นไม่ได้รับการตอบสนอง เสียงร้องแห่งสันติจึงแปลงเปลี่ยนเป็นเสียงปืนแห่งความรุนแรง
การ ต่อสู้ปะทะกันได้ส่งผลข้างเคียงตามมาคือการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิด จากกระทำทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจจากทั้งกลุ่มก่อความไม่สงบและเจ้าหน้าที่ รัฐบางส่วน ซึ่งในส่วนของการกระทำจากเจ้าหน้าที่รัฐดังกล่าวที่แม้จะเป็นส่วนน้อยนั้นก็ ยิ่งตอกย้ำความรู้สึกที่ฝังลึกและการรับรู้ที่สะสมว่ารัฐเลือกปฏิบัติและไม่ ให้ความเป็นธรรม มีการตอบโต้แก้แค้นกันไปมาด้วยความรุนแรงในลักษณะของตาต่อตา ฟันต่อฟัน ก่อให้เกิดความเกลียดชัง ความหวาดระแวงและไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันในสังคม เปรียบเสมือนน้ำมันที่หล่อเลี้ยงเชื้อไฟให้ลุกไหม้อย่างต่อเนื่อง
แน่ นอนที่สุด การพยายามทำความเข้าใจสาเหตุรากเหง้าดังกล่าวของความรุนแรงมิได้หมายความว่า การใช้ความรุนแรงดังกล่าวมีความชอบธรรมแต่ประการใด หากแต่เป็นจุดเริ่มต้นที่จะขจัดความรุนแรงอันเลวร้ายนี้ด้วยการสร้างความ เป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม
3. ความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา
รัฐบาล และหน่วยงานรัฐทั้งผู้บริหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่รัฐระดับปฏิบัติการส่วน ใหญ่ได้พยายามปรับทัศนคติ วิธีคิด และแนวทางการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 209/2549 เรื่องนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.2550-2554 ตลอดจนวิถีชีวิตวัฒนธรรมของคนในพื้นที่และหลักสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
โดย จะเห็นได้จากความพยายามในการปรับเปลี่ยนในเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกระบวน การยุติธรรม การพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษาที่คำนึงถึงหลักศาสนาและวิถีชีวิตของคนใน พื้นที่มากขึ้น ทั้งนี้ รวมถึงนโยบายการปฏิบัติงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า ประจำปี 2554 ซึ่งมีทิศทางที่มุ่งใช้การเมืองนำการทหารที่ชัดเจนมากขึ้นด้วย
มี การปรับโครงสร้างในการบริหารจัดการของภาครัฐให้เป็นเอกภาพและเปิดช่องทางให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับนโยบายมากขึ้นผ่านศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชาย แดนภาคใต้ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาค ใต้ พ.ศ.2553
มี การนำร่องยกเลิกการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ใน 4 อำเภอจังหวัดสงขลา และอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี พร้อมทั้งประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งโดยหลักการแล้ว ภาครัฐต้องการที่จะเปิดพื้นที่ให้กับแนวร่วมที่ต้องการจะกลับคืนสู่สังคมมาก ขึ้น
มี การสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นของการแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี และบทเรียนจากต่างประเทศมากขึ้นในส่วนของผู้บริหารภาครัฐ มีการฝึกอบรมเรื่องหลักสิทธิมนุษยชนและวิถีชีวิตวัฒนธรรมท้องถิ่นมากขึ้นใน ส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาคมระหว่างประเทศได้รับทราบถึงการดำเนิน งานของภาครัฐเป็นระยะผ่านกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่จะเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ดีที่สุด คือ การนำนโยบายที่เหมาะสมไปปฏิบัติจริงบนพื้นฐานของความจริงใจ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่รับรู้และจับต้องได้ ซึ่งที่ผ่านมายังมีข้อจำกัดอยู่บ้างในการสร้างความเข้าใจต่อแนวทางสันติวิธีและแนวคิดการเมืองนำการทหาร การประเมินผลการทำงานของภาครัฐจึงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแม้ภาครัฐจะมีการปรับเปลี่ยนในเชิงบวกอย่างค่อยเป็นค่อยไปดังที่กล่าว ไว้ข้างต้น แต่ด้วยเหตุที่ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่ยืดเยื้อยาวนาน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่การแก้ไขปัญหาโดยผู้ที่เกี่ยวข้องจะยังคงมีส่วนที่ ต้องปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้สมบูรณ์และสอดคล้องกับรากเหง้าของปัญหามากยิ่ง ขึ้น
4. ทิศทางที่ควรจะเป็นจากนี้ไป
สำหรับทิศทางการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองที่เกี่ยวเนื่องกับอัตลักษณ์วัฒนธรรมนี้ (Identity-based Conflict) จะต้องให้ความสำคัญกับการใช้แนวทางทางการเมืองที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น การดำเนินการใดๆ ของภาครัฐจะต้องสามารถตอบโจทย์ทางอัตลักษณ์และประวัติศาสตร์ สามารถทำให้คนในพื้นที่สัมผัสได้ถึงความเป็นธรรมทางการเมือง สังคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมา ภาครัฐยังไม่ได้ให้น้ำหนักในการทำงานเชิง สร้างสรรค์ในมิติทางการเมืองและวัฒนธรรมมากพอที่จะแก้ปัญหารากเหง้าได้ตรง จุด แต่กลับมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยทั่วไป
โดย พื้นฐานแล้ว รัฐมีหน้าที่จะต้องปกป้องคุ้มครองและธำรงรักษาทุกกลุ่มชาติพันธุ์บนผืนแผ่น ดินไทยให้อยู่ในสังคมไทยได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม รวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมให้สามารถอยู่ร่วมกันบนความ หลากหลายได้อย่างยั่งยืน ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์มลายูมุสลิมก็ถือเป็นอีกกลุ่มวัฒนธรรมหนึ่งที่รัฐต้อง ดูแลให้เขาเกิดความรู้สึกว่าได้รับความเป็นธรรมและเกิดความภาคภูมิใจที่เป็น ส่วนหนึ่งของสังคมไทย ด้วยแนวทางนี้จึงจะจัดว่าเป็นงานการเมืองอย่างแท้จริง
เมื่อเป็นเช่นนี้ ทิศทางหลักในการแก้ปัญหาความไม่สงบด้วยสันติวิธีที่รัฐจะต้องทำให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เห็นเป็นรูปธรรมจึงมีอยู่ 5 ประการ
ประการแรก ต้องลดหรือขจัดเงื่อนไขทางการเมืองและสังคมที่จะถูกกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบนำมาอ้างความชอบธรรมให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ที่ผ่านมา แม้ภาครัฐจะพยายามป้องกันมิให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือมีการกระทำใดๆ ที่กระทบต่อความรู้สึกของประชาชน แต่การกระทำนอกแถวของเจ้าหน้าที่รัฐเพียงจำนวนเล็กน้อยก็สามารถที่จะนำมา ซึ่งความเสื่อมเสียแก่ภาครัฐทั้งหมดได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนนั้นยังมีความเชื่อที่คลาดเคลื่อนว่าสันติวิธี เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหา จึงมุ่งเน้นการสถาปนาอำนาจและความมั่นคงของรัฐมากกว่าการเสริมสร้างความมั่น คงของประชาชนและชุมชน
ประเด็น สำคัญคือ เมื่อมีการละเมิดกฎหมายขึ้นแล้ว ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งรัดนำตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการ ยุติธรรมโดยเร็ว พิสูจน์ให้พื้นที่ได้เห็นว่าผู้ละเมิดกฎหมายจะต้องได้รับโทษไม่ว่าคนคนนั้น จะเป็นใครก็ตาม รวมถึงการเปิดเผยความจริงให้สาธารณชนได้รับทราบ ไม่ว่าจะเป็นกรณีตากใบ หรือเหตุที่มัสยิดอัลฟุรกอน เป็นต้น โดยจัดตั้งคณะกรรมการแสวงหาความจริงและความสมานฉันท์สำหรับเป็นกลไกในการ แสวงหาความจริงที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน
โดย ที่ผ่านมา ไม่ปรากฏต่อสาธารณะว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม ซึ่งสวนทางกับการรับรู้ความจริงในพื้นที่ของประชาชน ทั้งนี้ การจัดตั้งองค์กรดังกล่าวก็เป็นไปเพื่อป้องกันมิให้การกระทำผิดกฎหมายต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ถูกนำมาอ้างซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยกลุ่มต่อต้านรัฐที่อาศัยบาดแผลดังกล่าวเป็น เชื้อไฟในการปลุกเร้าและหล่อเลี้ยงวงจรความรุนแรงต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ประการที่สอง ต้องเปิดพื้นที่ทางการเมืองบนพื้นฐานของความไว้ใจซึ่งกันและกัน โดยให้ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นประชาชนในพื้นที่ทั้งพุทธและมุสลิม ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา หรือนักวิชาการต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น กำหนดแนวทางและตัดสินใจในเชิงนโยบาย รวมถึงประเมินผลการทำงานของภาครัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไปของท้อง ถิ่นทั้งในแง่ของการแก้ไขปัญหาความไม่สงบและการพัฒนาบ้านเมือง โดยไม่ควรระแวงว่าคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะเป็นแนวร่วมของกลุ่มขบวนการ
ใน เบื้องต้น สามารถกระทำได้โดยผ่านสภาที่ปรึกษาการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ใน โครงสร้างของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ปัจจุบัน ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือรัฐจะต้องมีความจริงใจที่จะรับฟังเสียงของประชาชนในพื้นที่และ นำมาดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง เนื่องจากที่ผ่านมานั้น ภาครัฐจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในลักษณะของการเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นโดยทั่ว ไปผ่านเวทีการสัมมนาเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น แต่ยังไม่ได้ให้มีส่วนร่วมในระดับที่มีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในเชิง นโยบายและการริเริ่มโครงการต่างๆ ตามความต้องการของท้องถิ่นจริงๆ
แนวโน้มในอนาคต ภาครัฐจะต้องมีการกระจายอำนาจให้ประชาชนในพื้นที่ได้ดูแลตัวเองตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
ประการที่สาม ต้องริเริ่มและส่งเสริมกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ (Peace Talk) อย่างจริงจังและต่อเนื่องกับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐทุกกลุ่ม โดยเริ่มต้นจากส่วนที่ต้องการจะใช้สันติวิธีในการแก้ไขปัญหาทั้งที่อยู่ภาย ในประเทศและภายนอกประเทศก่อน อีกทั้งต้องเปิดโอกาสให้ภาคส่วนอื่นๆ นอกเหนือจากภาครัฐที่สามารถเข้าถึงกลุ่มบุคคลเหล่านี้ ได้ดำเนินการพูดคุยควบคู่กันไปด้วยโดยมีเป้าหมายเดียวกันคือสังคมสันติสุขใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสของประเทศชาติในการสร้างสันติภาพ
ทั้ง นี้ กระบวนการพูดคุยดังกล่าวมิใช่การเจรจาต่อรองกับรัฐแต่อย่างใด หากแต่เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการสร้างบรรยากาศที่จะเอื้อต่อการแก้ไขความขัด แย้งด้วยสันติวิธีต่อไป การจัดให้มีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการใช้สันติวิธีนี้จะเป็นการจำกัดพื้นที่ การใช้ความรุนแรงให้เหลือน้อยมากที่สุดไปโดยปริยายโดยมิต้องใช้การสู้รบทาง การทหารมากเกินความจำเป็น
ประการที่สี่ ต้องเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมด้วยการยอมรับความแตกต่างหลากหลายอย่างสนิทใจ รูปธรรมที่ดำเนินการได้เลยคือการให้ลูกหลานของคนในพื้นที่ได้เรียนหลักสูตร การศึกษาในโรงเรียนรัฐที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรม กล่าวคือเป็นหลักสูตรที่บูรณาการสายสามัญกับศาสนาเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม บรรจุวิชาภาษามลายูไว้ในหลักสูตรการศึกษาอีกวิชาหนึ่งเพื่อให้มีการเรียนการ สอนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบโดยมีครูผู้สอนที่จบทางด้านการสอนภาษาโดยเฉพาะ ซึ่งครูผู้สอนในส่วนของวิชาภาษาไทยก็ควรต้องมีคุณสมบัติดังกล่าวด้วยเช่น เดียวกัน มีการจัดตั้งหรือพัฒนามหาวิทยาลัยของรัฐในพื้นที่ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้น สอนสาขาวิชาต่างๆ ที่อยู่บนพื้นฐานของหลักอิสลาม
นอก จากนี้ ในแง่ของจิตวิทยานั้น ควรต้องมีการใช้ภาษามลายูควบคู่กับภาษาไทยและภาษาอังกฤษกำกับบนป้ายต่างๆ โดยเฉพาะป้ายของทางราชการ ซึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ก็มีการใช้ป้ายภาษาท้องถิ่นในจำนวนมากขึ้นแล้ว ทั้งนี้ การส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่นดังกล่าวไม่ได้เป็นการก่อให้เกิดความแตกแยกมาก ขึ้น หากแต่ทำให้ประชาชนในพื้นที่กลับรู้สึกว่าสังคมไทยเปิดรับความแตกต่าง และรู้สึกสบายใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย
ประการที่ห้า ต้องสื่อสารกับสังคมใหญ่และ ผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างความเข้าใจต่อรากเหง้า ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้และเสริมสร้างทัศนคติที่เอื้อต่อการอยู่ ร่วมกันด้วยสันติวิธี โดยผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ
5. บทส่งท้าย
โดย ที่สุดแล้ว ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่ลึกลงไปถึงชั้นความรู้สึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความกังวลใจในเรื่องของอัตลักษณ์ที่ถูกกดทับและการไม่ได้ รับความเป็นธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้ ไม่ว่ารัฐจะกำหนดนโยบายหรือมาตรการใดๆ ออกมา นโยบายหรือมาตรการนั้นจะต้องตอบคำถามให้ได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหาความรู้สึก นี้ได้อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องของการเข้าถึงจิตใจประชาชน มิใช่เรื่องของการยึดพื้นที่ทางกายภาพแต่อย่างใด
กระบวนการสันติภาพ (Peace Process) ในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะต้องเกิดขึ้นโดยเร็วและต่อเนื่อง บนพื้นฐานของการยึดมั่นในความจริง มีความมุ่งมั่นและจริงใจ โดย เน้นการเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกๆ ฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา จำเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนร่วมมือจากทั้งคนในพื้นที่และนอกพื้นที่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยอมรับฟังและให้น้ำหนักอย่างแท้จริงกับทุกๆ เสียงหรือข้อเรียกร้อง แม้เสียงนั้นจะแตกต่างไปจากของรัฐก็ตาม เพื่อที่จะลดเงื่อนไขเก่าและไม่สร้างเงื่อนไขใหม่ให้กลุ่มผู้ต่อต้านรัฐนำมา ขยายผลในการสร้างความรุนแรงขึ้นอีกต่อไป
ด้วย บรรยากาศของการทำงานร่วมกันดังกล่าวนี้เท่านั้นที่จะเป็นกุญแจดอกสำคัญในการ เปิดประตูไปสู่ปลายทางสันติภาพที่ยั่งยืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันเป็นจุดหมายที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน
สรุปย่อภาพรวมความพยายามในการจัดการปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมา (ดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
แนวทางแก้ไข
มุมมองต่อปัญหา
สมมติฐานเบื้องต้น
ยุทธศาสตร์
ยุทธวิธี
ข้อดี
ข้อจำกัด
ตัวแสดงหลัก
1. การปราบปราม
การแบ่งแยกดินแดน
เชื่อ ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาจากกลุ่มคนที่ต้องการแยกดินแดนและไม่ถือว่าตน เป็นคนไทย การใช้กำลังทหารในการปราบปรามอย่างเด็ดขาดจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเอาชนะอริ ราชศัตรู
รุกทำลาย – จำกัดพื้นที่การเคลื่อนไหวของกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน
- ปิดล้อมตรวจค้น
- สอบปากคำ/ อบรมปรับทัศนคติ
- เสริมกำลังทหาร
- ตอบโต้ด้วยอาวุธ
- จำกัดพื้นที่ปฏิบัติการของกลุ่มขบวนการ
- ลดความถี่ของการเกิดเหตุการณ์
- อาจสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติม
- ต่อวงจรความรุนแรง
- ได้เพียง “ยัน” ไม่อาจ “รุก”
- ใช้งบประมาณมาก
- ขาดความชำนาญในการรบนอกแบบ
- ทหาร/ตำรวจ
- กองกำลังไม่ทราบฝ่าย
2. การพัฒนาคุณภาพชีวิต
ยาเสพติด/ ความยากจน/ ด้อยการศึกษา
เชื่อ ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาจากการที่ประชาชนบางส่วนถูกชักจูงและหลงผิดโดยตก เป็นเครื่องมือของกลุ่มผู้ไม่หวังดี หากประชาชนส่วนใหญ่กินดีอยู่ดีมีการศึกษา ก็จะไม่หลงผิดไปเป็นแนวร่วม ประชาชนจะเอาใจออกห่าง และสุดท้ายขบวนการเหล่านี้ก็จะสูญเสียมวลชนและ ‘ฝ่อ’ ไปในที่สุด
เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา – ทำดีมีอาชีพ
- ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
- สร้างงาน สร้างอาชีพ
- ส่งเสริมการลงทุน (อุตสาหกรรม)
- ส่งเสริมการศึกษา
- แก้ปัญหายาเสพติด
- ประชาชนจำนวนหนึ่งมีอาชีพและรายได้มากขึ้น
- ประชาชนจำนวนหนึ่งมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
- การพัฒนาไม่ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่
- ประชาชนส่วนหนึ่งรู้สึกว่าเป็นการ “ให้” จากรัฐ แต่ “ไม่รู้สึกว่าตนเป็นเจ้าของ”
- ใช้งบประมาณมาก
- เกิดข่าวลือว่ามีการคอร์รัปชั่นจากโครงการพัฒนาต่างๆ
- ศอ.บต.
- กอ.รมน.
-กระทรวง ศึกษาธิการ
- องค์กรพัฒนาเอกชน
- ภาคประชาสังคม
3. การเคารพสิทธิมนุษยชน
การเรียกร้องความเป็นธรรมจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและเลือกปฏิบัติ
เชื่อ ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาจากความไม่พอใจของผู้ที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐบาง ส่วนละเมิดสิทธิมนุษยชนและเลือกปฏิบัติจนเกิดเป็นปฏิกิริยาตอบโต้เพื่อเรียก ร้องความเป็นธรรม หากเจ้าหน้าที่รัฐเคารพยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมอย่างเคร่ง ครัด ความไม่พอใจต่างๆก็จะลดหายไปในที่สุด
ปฏิบัติต่อประชาชนตามหลักนิติธรรมอย่างเคร่งครัดบนความเสมอภาคเท่าเทียม
- ใช้พรก.ฉุกเฉินฯตามกรอบของกฎหมาย
- ปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบของกฎหมาย
- ไม่สร้างเงื่อนไขใหม่
- ประชาชนไม่รู้สึกว่าถูกเลือกปฏิบัติ
- ยังไม่อาจทำให้ประชาชน “รู้สึกและสัมผัสได้” ถึงความจริงใจของรัฐในการเคารพสิทธิมนุษยชนและความเสมอภาค
- ประชาชนส่วนหนึ่งยังรับรู้จากการแพร่กระจายของข่าวการปฏิบัตินอกกรอบของกฎหมายอยู่อย่างต่อเนื่อง
- กระทรวงยุติธรรม
- ทหาร/ตำรวจ
- องค์กรพัฒนาเอกชน
4. การรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรม
การรู้สึกว่าอัตลักษณ์ของตนถูกทำลายโดยการทำให้เป็น “ไทย” ผ่านมาตรการกลืนกลายทางวัฒนธรรม
เชื่อ ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาจากความคับข้องใจของคนไทยมุสลิมเชื้อสายมลายู จำนวนหนึ่งที่รู้สึกว่าอัตลักษณ์ของตนถูกกดทับและไม่ได้รับการยอมรับจากภาค รัฐ เป็นเสมือนกับพลเมืองชั้นสอง หากรัฐมีนโยบายที่ยอมรับและให้เกียรติอัตลักษณ์วัฒนธรรมมลายูมุสลิม ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าถูกกลืนกลายทางวัฒนธรรม แรงต่อต้านก็จะหมดไปในที่สุด
ยอมรับและให้เกียรติอัตลักษณ์วัฒนธรรมมลายูมุสลิมอย่างเป็นรูปธรรม
- มีระบบการศึกษาของรัฐที่บูรณาการสายสามัญกับศาสนาในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา
- ใช้ภาษามลายูควบคู่ภาษาไทยกำกับบนป้ายของทางราชการ
- บังคับใช้กฎหมายอิสลามกับคนมุสลิม
- ประชาชนรู้สึกว่าอัตลักษณ์วัฒนธรรมของตนมีคุณค่าและเท่าเทียมกับคนไทยในภูมิภาคอื่น
- ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมของตน
- ยังไม่อาจดำเนินการได้เต็มที่เนื่องจากกรอบ “ความเป็นไทย” ที่ค่อนข้างจำกัดอยู่ที่วัฒนธรรมไทย พูดภาษาไทย และนับถือศาสนาพุทธของสังคมใหญ่โดยรวม
- ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลและนโยบายของแต่ละรัฐบาลที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่มีหลักประกันว่าจะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
- กระทรวงวัฒนธรรม
- กระทรวง ศึกษาธิการ
- องค์กรพัฒนาเอกชน
- ภาคประชาสังคม
5. การปรับโครงสร้างการปกครอง
การกอบกู้
เอกราช/ความต้องการปกครองตนเอง
เชื่อ ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นอาการของความขัดแย้งทางการเมืองที่ประชาชน จำนวนหนึ่งต้องการที่จะมีอำนาจในการปกครองตนเองในลักษณะที่สามารถแสดงถึงอัต ลักษณ์วัฒนธรรมของตนเองได้อย่างเป็นอิสระ หากรัฐให้อำนาจแก่ประชาชนท้องถิ่นในการดูแลตนเองอย่างแท้จริงภายใต้โครง สร้างการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการ สอดคล้องกับอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น และเอื้อต่อการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลาย ก็จะเป็นการปลดเงื่อนไขสงคราม หมดความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรง ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสันติสุขที่ยั่งยืนได้ในที่สุด
มอบอำนาจในการปกครองตนเองแก่ประชาชนในพื้นที่ในระดับที่มีนัยสำคัญภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
- พัฒนาโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
- ประชาชนรู้สึกว่าตนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองและได้มีโอกาสในการกำหนดชะตา ชีวิตของตนเองในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามความต้องการอย่างแท้จริง
- ประชาชนสามารถเรียกร้องกดดันผู้บริหารให้กำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่นได้
- ความกังวลจากสังคมไทยพุทธว่าจะเป็นก้าวแรกไปสู่การแยกดินแดน
- ความไม่ชัดเจนว่าการปรับโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นเป็นทางออกที่ภาครัฐและกลุ่มขบวนการยอมรับร่วมกันได้
- แรงต้านจากกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นและข้าราชการบางส่วนที่เห็นว่ารูปแบบการปกครองท้องถิ่นปัจจุบันมีความเหมาะสมดีอยู่แล้ว
- องค์กรพัฒนาเอกชน
- เครือข่ายภาคประชาสังคม
6. การพูดคุยสันติภาพ (Peace Talk)
ความไม่เป็นธรรม/ ความคับข้องใจ
เชื่อ ว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาจากความรู้สึกของประชาชนส่วนหนึ่งว่าไม่ได้รับ ความเป็นธรรมทางการเมืองและสังคมวัฒนธรรม มีความไม่สบายอึดอัดใจในสภาพความเป็นอยู่ปัจจุบัน การพูดคุยกันระหว่างคู่ขัดแย้งและผู้เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆเป็นจุดเริ่ม ต้นที่จะร่วมกันหาทางออกที่ทุกฝ่ายพึงพอใจและยอมรับได้มากที่สุด
เปิดพื้นที่ปลอดภัยทางการเมืองเพื่อรับฟังและทำความเข้าใจมุมมองและความต้องการระหว่างกัน รวมทั้งค้นหาทางออกที่ยอมรับได้ร่วมกัน
- ส่งสัญญาณผ่านช่องทางและวิธีการต่างๆให้อีกฝ่ายได้รับรู้ถึงความจริงใจที่จะใช้สันติวิธีด้วยการพูดคุย
- ริเริ่มกระบวนการสร้างความไว้วางใจ
- สร้างและรักษาช่องทางสื่อสารระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง
- ทำให้เข้าใจรากเหง้าของปัญหา มุมมองและความต้องการระหว่างกันเพื่อที่จะแสวงหาทางออกได้ตรงจุด
- ขยายพื้นที่การใช้สันติวิธีและจำกัดพื้นที่การใช้ความรุนแรง
- กลุ่มบุคคลที่มีบทบาทในด้านนี้ยังมีลักษณะการทำงานที่ขาดการประสานความร่วมมือระหว่างกัน
- มีแรงต้านจากกลุ่มสายเหยี่ยวในภาคส่วนต่างๆว่าเป็นการพูดคุยกับศัตรู ยกฐานะและยอมจำนนต่อ ‘ผู้ก่อการร้าย’
- ยังไม่ปรากฏคู่ขัดแย้งชัดเจนที่ต้องการจะพูดคุย
- สภาความมั่นคงแห่งชาติ
- กอ.รมน.
- ศอ.บต.
- องค์กรพัฒนาเอกชน
- ภาคประชาสังคม



หมายเหตุ
แน่นอนว่าทั้ง 6 แนวทางนั้น คงจะต้องดำเนินไปด้วยกันด้วยระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม จะมีเพียงแนวทางใดแนวทางหนึ่งคงไม่ได้
แต่ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหารวมทั้งสังคมใหญ่นั้น ยังมีความเข้าใจต่อรากเหง้าของปัญหาที่ไม่ตรงกัน ส่งผลให้มีความเชื่อมั่นในแนวทางการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันไป
คำ ถามสำคัญคือแล้วแนวทางใดที่จะเป็นตัวปลดล็อกเงื่อนไขของความรุนแรง? แนวทางใดที่จะตอบโจทย์กลุ่มที่เห็นต่างจากรัฐและนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดต่อ ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่? วันนี้เรามีคำตอบนั้นแล้วหรือยัง?

from ..http://www.deepsouthwatch.org/node/1656

menambah kesedaran untok umat yang satu tujuan

Jihad di Fathoni semarak menyala


Wajib kita bangkit bangun membela


Berkorban harta jiwa dan raga


Gigih berjuang semangat merdeka


Andai kita tak sanggup berjuang


Umat Fathoni dirantai kehinaan


Umat Fathoni dibelanggu penjajahan


Umat Fathoni dilaknat tuhan


Umat Fathoni jangan lekas putus asa


Sebab Allah bersama kita


Mendaulat hukum Allah di bumi pusaka


Itulah harapan dan cita-cita


Insya Allah bumi Fathoni merdeka


Insya Allah bumi Fathoni Allah redha janganlah simpan untok seorang diri